เกี่ยวกับ อบต.
ประวัติความเป็นมา บ้านแก้มอ้นเดิมเป็นหมู่ที่ 7 ของตำบลด่านทับตะโก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2520 ได้รับการจัดตั้งเป็นตำบลแก้มอ้น ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 15 หมู่บ้าน ตามประวัติเล่าว่าตำบลแก้มอ้นในอดีตเป็นชุมชนเผาถ่านมาก่อน คือผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นมักยึดอาชีพเผาถ่านขายพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณและมีตัวอ้นเป็นสัตว์คล้ายหนูอาศัยอยู่อย่างชุกชุมผู้คนที่อาศัยอยู่ย่านนั้นจึงมักจับเอาตัวอ้นมาประกอบเป็นอาหารแกล้มกับสุรา จนต่อมาเมื่อชุมชนขยายตัวใหญ่ขึ้นและได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านชาวบ้านจึงมีความเห็นกันว่าน่าจะเอาลักษณะเด่นของชุมชนมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านจึงได้นำเอาคำว่า แกล้มอ้นอันหมายถึงการนำเอาตัวอ้นมาทำเป็นกับแกล้มมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและได้เรียกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านแกล้มอ้น จนต่อมาได้เรียกเพี้ยนคำว่า “แก้มอ้น” ในปัจจุบัน
|
วิสัยทัศน์และพันธกิจ วิสัยทัศน์ " ชุมชนการเกษตรแบบยั่งยืน สู่สังคมสุขภาพ " พันธกิจ
๑.พัฒนาแสวงหาความเป็นเลิศด้านงานบริการสาธารณะให้ครอบคลุมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ๒.ประชาชนมีอาชีพทีเหมาะสมและรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ๓.พัฒนาศักยภาพของประชาชน และชุมชนให้เข้มแข็งและไม่มองข้ามปัญหาสังคมแม้เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย ๔.พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ๕.พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ปรับกระบวนทัศน์ ค่านิยม ให้เหมาะสมกับการทำงานแนวใหม่และสอดคล้องกับสังคมไทย
|
|
สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ สภาพทั่วไป ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแก้มอ้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอจอมบึง ห่างจากอำเภอจอมบึงประมาณ ๒๙ กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ ๑๒๙.๕๐๕ ตารางกิโลเมตร คิดเป็น ๘๐, ๙๔๐ ไร่ ๒๕ ตารางวา ลักษณะภูมิประเทศ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอท่าม่วง และอำเภอเมืองกาญจนบุรี ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลด่านทับตะโก และตำบลเบิกไพร ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลเบิกไพร และอำเภอโพธาราม และอำเภอท่าม่วง ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสวนผึ้ง และอำเภอด่านมะขามเตี้ย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับที่ราบและป่าเสื่อมโทรม มีแม่น้ำลำภาชีไหลผ่านไม่มีแร่ธาตุที่สำคัญ ลักษณะดินเป็นดินปนทรายและหินอยู่ในเขตราชพัสดุ และเขต สปก.
|
การเมืองการปกครอง เขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลแก้มอ้น มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒๙.๕๐๕ ตารางกิโลเมตร คิดเป็น ๘๐, ๙๔๐ ไร่ ๒๕ ตารางวา มีพื้นที่เขตการปกครองจำนวน ๑๕ หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น ๒,๙๗๐ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๙,๔๘๒ คน แยกเป็นชาย ๔,๗๖๘ คน หญิง ๔,๗๑๔ คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย ๗๓ คน : ตารางกิโลเมตร ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗ |
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม สภาพทางเศรษฐกิจ ๑. อาชีพของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแก้มอ้น ส่วนมากประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นอันดับหนึ่ง อาชีพรับจ้างเป็นอันดับสอง และรองลงมาเป็นอาชีพค้าขาย ๒. หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแก้มอ้น - ปั๊มน้ำมันและก๊าซ ๕ แห่ง - โรงสี ๔ แห่ง - โรงมันและลานตากมันสำปะหลัง ๓ แห่ง สภาพทางสังคม มวลชนจัดตั้ง ๑. ลูกเสือชาวบ้าน ๑ รุ่น ๒. ตำรวจชุมชน ๑ รุ่น ๓. อาสาสมัครป้องกันตนเอง(อปพร.) ๒ รุ่น ๔. อาสาสมัครป้องกันตนเอง(อพป.) ๒ รุ่น ๕. อาสาสมัครรักษาความสงบหมู่บ้าน (สรบ.) ๑ รุ่น การรวมกลุ่มของประชาชน อำนวยกลุ่มทุกประเภท ๓ กลุ่ม แยกประเภทกลุ่ม - กลุ่มอาชีพ ๓ กลุ่ม - กลุ่มออมทรัพย์ ๓ กลุ่ม - กลุ่มอื่นๆ ๑๕ กลุ่ม |
สภาพทางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การศึกษา - โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๙ แห่ง ๑) โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก ๒) โรงเรียนบ้านทุ่งแจง ๓) โรงเรียนบ้านรางเฆ่ ๔) โรงเรียนบ้านวังปลา ๕) โรงเรียนบ้านหนองปากชัฏ ๖) โรงเรียนบ้านพุม่วงราษฏรบำรุง ๗) โรงเรียนบ้านพุตะเคียน ๘) โรงเรียนบ้านสันดอน ๙) โรงเรียนมหาราช ๗ (ขยายโอกาสทางการศึกษา) - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแก้มอ้น จำนวน ๑ แห่ง - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน ๑๕ แห่ง ศาสนา สถาบันและองค์กรทางศาสนา จำนวน ๘ แห่ง ได้แก่ ๑) วัดรางเฆ่ (มีโบสถ์) ๒) วัดหนองปากชัฏ (มีโบสถ์) ๓) วัดแก้มอ้น (มีโบสถ์) ๔) วัดเขาแดน (มีโบสถ์) ๕) วัดโป่งกก ๖) วัดทุ่งแฝก ๗) วัดวังปลา ๘) สำนักสงฆ์พุตะเคียน |
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ การคมนาคม มีถนนทางหลวงแผ่นดิน ๑ สาย ถนนรพช. ถนนโยธาธิการ ถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัด ถนน สปก. ส่วนมากเป็นถนนลูกรังมีน้ำซับไหลผ่านทำให้ถนนเสียหายง่าย การไฟฟ้า - จำนวนหมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ ๑๕ หมู่บ้าน การสื่อสาร ระบบเสียงตามสายของ อบต. มีการให้บริการในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแก้มอ้น ทั้ง ๑๕ หมู่บ้าน ให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ การสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน ๓ แห่ง ดังนี้ ๑. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลแก้มอ้น ๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล บ้านรางเฆ่ ๓. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล บ้านทุ่งแฝก - อัตราการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - ป้อมตู้ยามตำรวจ ๑ แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย ๑๘ แห่ง - บ่อน้ำตื้น ๑๔๗ แห่ง - บ่อบาดาล ๗๔ แห่ง - ประปาหมู่บ้าน ๒๘ แห่ง - สระน้ำสาธารณะ ๑๕๓ แห่ง - ถังเก็บน้ำฝน ๓๔ แห่ง - อ่างเก็บน้ำ ๘ แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ ลำห้วย ๒ สาย - บึง, หนองและอื่น ๆ ๓ แห่ง |